ลงข้อมูลเมื่อ : 04/06/2018 23:21
การป้องกันแผลกดทับ
แผลกดทับคือบาดแผลที่เกิดจากการที่เซลล์ตายจากการขาดเลือด อาการขาดเลือดนี้จะเกิดเนื่องจากมีการกดทับเป็นระยะเวลานาน แผลกดทับส่วนใหญ่มักจะเกิดในบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่เหนือกระดูกก้นกบ มักจะเกิดในคนชราที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีสำหรับวิธีป้องกันบาดแผลกดทับด้วย
แผลกดทับพบได้บ่อยมากในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวใดๆได้ เมื่อผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานๆ เซลล์ส่วนนั้นจะเกิดอาการขาดเลือดและทำให้เข้าสู่ภาวะเซลล์ตาย ถ้าไม่รับการดูแลตั้งแต่ต้นจะส่งผลเสียตามมาซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับความทรมานอย่างมาก บาดแผลกดทับนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมากและส่งผลกระทบต่อผู้ดูแลและคนไข้
- ที่นี้เรามาพูดถึงความสำคัญเกี่ยวกับเตียงของผู้ป่วยกันดีกว่า เพื่อป้องกันแผลกดทับผู้ป่วยนั้นควรจะเปลี่ยนอิริยาบทประมาณทุกๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งนั่นเพื่อให้กล้ามเนื้อนั้นได้รับการฟื้นตัวและระบายความร้อนที่สะสมอยู่ เตียงผู้ป่วยนั้นก็มีส่วนช่วยให้บาดแผลกดทับทั้งหลายน้อยลงด้วยเพราะปัจจุบันนี้เตียงผู้ป่วยบางรุ่นนั้นจะมีระบบควบคุมด้วยไฟฟ้าแล้วทำให้ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถดำเนินการเปลี่ยนอิริยาบทได้ด้วยตนเอง เตียงธรรมดาทำเช่นนั้นได้หรือไม่? ตอบเลยว่าสามารถทำได้เช่นกันแต่จำเป็นต้องให้ผู้ดูแลเป็นคนช่วยเหลือตอลดเวลาที่จะเปลี่ยนอิริยาทบท ซึ่งหากเราไม่มีผู้ดูแลแล้วเราควรเลือกเตียงผู้ป่วยให้เหมาะสมกับคนไข้ด้วย
- รถเข็นล่ะกรณีของรถเข็นก็เช่นกัน เราควรมีเบาะรองก้น โดยมีการกระตุ้นให้เปลี่ยนถ่ายน้ำหนักตัวหรือยกก้นให้ลอยขึ้นเหนือที่นั่งทุกๆ 30 นาที
- อุปกรณ์ลดแรงเมื่อผู้ป่วยต้องอยู่กับที่ เช่น ที่นอนที่ทำจาก เจล โฟม ลม น้ำ หมอน เป็นต้น ขอเหล่านี้เป็นของที่ช่วยบาดแผลกดทับเกิดขึ้นได้น้อยลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองด้วย ดังนั้นแม้ว่าเราจะมีของเหล่านี้เราก็ยังคงต้องดูแลผู้ป่วยอยู่ดี
- อุปกรณ์ลดแรงกดสลับไปมา เช่น ที่นอนลม เตียงนอนไฟฟ้า ปัจจุบันของเหล่านี้หาซื้อได้ง่ายและสามารถเลือกซื้อได้หลากหลายตามความต้องการ เตียงไฟฟ้านั้นจะสะดวกสบายสำหรับการจัดท่าทางหรือเปลี่ยนอิริยาบทได้มากกว่าที่นอนลม
- การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรใช้แรงยกไม่ควรใช้วิธีลาก ไม่ควรเคลื่อนย้ายตามลำพังถ้าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ข้อนี้เป็นอันตรายกับตัวผู้ป่วยมากควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด
- การเคลื่อนย้ายโดยการใช้รถเข็น ผู้ควรสวมรองเท้าหุ้มส้นทุกครั้ง ให้ตรวจดูเชือกรองเท้าให้เรียบร้อยก่อนเข็นผู้ป่วยออกไป เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ป่วยและตัวผู้ดูแล
- ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ไม่ควรอยู่ในท่านั่งเกิน 1 ชั่วโมง
- ทำได้เท่านี้รับรองว่าจะไม่เกิดแผลกดทับกับคุณอย่างแน่นอน ด้วยความปราถนาดีจาก VSENIOR.NET ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์เพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้น
==========================
http://www.vsenior.net/index.php
www.vsenior.lnwshop.com
จัดจำหน่ายโดยร้าน VSENIOR