ผู้เยี่ยมชม : 1053
ลงข้อมูลเมื่อ : 03/01/2018 15:14
ลงข้อมูลเมื่อ : 03/01/2018 15:14
รถเข็นเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยหรือคนชราที่มีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อหรือกระดูก ปัจจบันรถเข็นนั้นถูกทำขึ้นหลายรูปแบบเพื่อรองรับการทำงานของผู้ใช้งาน มีทั้งแบบมาตรฐาน, แบบปรับเอนนอน, แบบมีที่นั่งถ่าย, แบบผู้พิการและแบบไฟฟ้า
โครงสร้างของรถเข็นนั้นเป็นส่วนสำคัญของรถเข็นทีเดียว ในด้านโครงสร้างของรถเข็นนั้นมีทั้งแบบเหล็กชุบโครเมียม, สแตนเลส, เหล็กพ่นสี หรือแม้กระทั่งอลูมิเนียมอัลลอยด์ ซึ่งถ้าหากว่าแบบไหนดีที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับงบประมาณและการใช้งาน หากเดินทางประจำก็ควรเลือกรถเข็นที่มีโครงสร้างอลูมิเนียมเพราะมีน้ำหนักเบา แข็งแรงทนทานหรือถ้าผู้นั่งมีปัญหาด้านการทรงตัวก็เลือกแบบปรับเอนนอนได้ หรือกรณีที่ต้องการรถเข็นราคาประหยัดก็ควรเลือก แบบเหล็กชุบโครเมียม และหากต้องการความสะดวกสบายในระดับสูงสุดก็ควรเลือกรถเข็นไฟฟ้า
รถเข็นแบบยางตัน ล้อยางตันจะมีข้อดีตรงที่ไม่ต้องสูบลม แต่ความนุ่มนวลในการใช้งานจะน้อยกว่ารุ่นล้อยางลม เหมาะกับการใช้งานกับพื้นถนนเรียบ
รถเข็นแบบยางลม ไปได้ทุกที่แม้ผิวขรุขระ มีความนุ่มนวลในการใช้งานมากกว่ายางตัน
รถเข็นแบบล้อซี่ลวด แข็งแรงน้อยกว่าล้อแม็ค
รถเข็นแบบล้อแม็ค เหมาะกับผู้ใช้งานที่มีน้ำหนักตัวมาก เพราะมีความแข็งแรงมากกว่า ล้อซี่ลวดและมีความสวยงามกว่า ขนาดของล้อรถเข็น
รถเข็นแบบล้อเล็ก เหมาะสำหรับ ผู้ป่วย/ผู้พิการ ที่กล้ามเนื้อแขนไม่มีแรง, แขนไม่สามารถใช้งานได้ และ ผู้ป่วยที่มีผู้ดูแลช่วยเข็นตลอดเวลา หรือ ผู้ที่ต้องการความสะดวกในการพกพา เวลาที่ต้องพาผู้ป่วยหรือผู้พิการออกมาทำกิจกรรมนอกบ้าน เพราะรถเข็นแบบล้อเล็กเมื่อพับเก็บจะมีขนาดเล็กกะทัดรัดประหยัดพื้นที่สำหรับวางรถเข็นภายในรถ และมีน้ำหนักค่อนข้างเบา จึงเหมาะและสะดวกแก่การพกพา
รถเข็นแบบล้อใหญ่ เหมาะสำหรับ ผู้ป่วย/ผู้พิการ ที่แขนยังสามารถใช้งานได้ปกติ เช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งท่อน หรือผู้พิการทางขา โดยผู้ป่วยหรือคนพิการนั้นจะสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเองโดย การใช้มือจับที่วงแหวนด้านข้างของล้อ และหมุนบังคับทิศทาง ซ้าย-ขวา , หน้า-หลัง, ได้ตามต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเข็นตลอดเวลา นอกจากนี้การเลือกใช้รถเข็นประเภทนี้ยังถือเป็นการบริหารกล้ามเนื้อส่วนแขนให้แข็งแรงไปในตัวอีกด้วย
รถเข็นทุกประเภทต้องมีเบรกซึ่งระบบห้ามล้อนี้จะมีทั้ง แบบเบรกล้อหลังอย่างเดียว และ แบบเบรกมือ-ล้อหรือที่เรียกว่า “ระบบ 2 เบรค (Wheel & Wire Break)” ซึ่งจะมีราคาสูงกว่าระบบแรก แต่มีความปลอดภัยมากกว่า